พี่นุก : "สวัสดีค่ะ อยู่กับพวกเรานะคะ บริษัทสิริปันทวีค่ะ และขณะนี้นะคะ เราก็อยู่กันที่หน้างานก่อสร้างบ้านของบริษัทของพวกเรานะคะ
ที่ทุกคนเห็นนี้นะคะก็คือเครื่องขุดเจาะสำรวจดินนั่นเองค่ะ หลายๆ คนนะคะก็อาจจะไม่ทราบนะคะว่าเราเนี่ยสำรวจดินไปเพื่ออะไร
แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าการสำรวจดินเนี่ยเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการสร้างบ้านที่สำคัญเลย เดี๋ยววันนี้เราก็จะมาพูดคุยกันถึงประเด็นนี้ค่ะ
ว่าการสำรวจดินนั้นคืออะไร มีความสำคัญยังไง แล้วก็มีวิธีการยังไงนะคะ เดียววันนี้ค่ะ พี่ซันนะคะ ก็จะมาให้ความรู้กับพวกเราค่ะ"
พี่นุก : "สวัสดีค่ะพี่ซัน ก่อนอื่นขอถามก่อนเลยว่าการสำรวจดินคืออะไร?"
พี่ซัน : "การสำรวจดินก็คือ การที่เราจะมาเก็บตัวอย่างดินจริงๆ จากหน้างานที่เราทำงานไปที่ห้องแล็บครับเพื่อไปสรุปค่าออกมาว่าดินแต่ละชั้น
มีลักษณะดินเป็นยังไงหรือว่าเขาเรียกว่าโปรไฟล์ดิน ถ้าภาษาในรายงานเขาจะเรียกว่า Boring Log ก็จะบอกหมดเลยว่าแต่ละชั้นดิน
ดินเป็นลักษณะยังไง"
พี่นุก : "แล้วมันมีความสำคัญยังไงกับการสร้างบ้าน"
พี่ซัน : "ความสำคัญเบื้องต้นของการสร้างบ้าน ในหารทำตัวนี้ คือจะบอกเราว่าเส่เข็มที่เราจะลงไป จะลงไปอยู่ที่ความลึกเท่าไหน"
พี่นุก : "เพื่อที่เราสำรวจเสร็จแล้วเนี่ยเราจะเอาไปทำขั้นตอนต่อไปก็คือการตอกเสาเข็ม"
พี่ซัน : "ใช่ครับ"
พี่นุก : "แล้ววิธีการสำรวจดินมันมีวิธีการยังไงบ้างคะ"
พี่ซัน : "ก็เบื้องต้นเนี่ยจากที่เห็นหน้างานเนอะจะเป็นคล้ายๆ ปั่นจั่นขนาดเล็กครับ ก็ถ้าสรุปง่ายๆ เลยก็คือเราจะเอากระบอกเก็บตัวอย่างลงไป
เก็บดินในแต่ละความลึก โดยส่วนใหญ่จะเก็บห่างกันประมาณ 1 เมตร 50 เซนติเมตร แต่ทุกๆ 1 เมตร 50 เซนติเมตร จะเก็บดินขึ้นมาแล้ว
ก็เอาไปเข้าแล็บครับเพื่อจะเอาผลมาทำรายงาน"
พี่ป๊อก : "ขั้นตอนการสำรวจดินเนี่ย จริงๆ แล้วเราต้องทำตั้งแต่ก่อนเขียนแบบเลยไหม?"
พี่ซัน : "จริงๆ ควรทำตั้งแต่ก่อนเขียนแบบครับ ผลของรายงานจากดินเนี่ยเราสามารถเอาไปออกแบบฐานรากของคอนกรีตได้จะมีปัจจัยตัวหนึ่ง
เพื่อเอาไปคำนวณฐานรากได้กับปัจจัยตัวหนึ่งเอาไปบอกเรื่องของขนาดเสาเข็มแล้วก็ความลึกเข็มครับ"
พี่ป๊อก : "ถ้าให้ถูกวิธีก็คือควรจะทดสอบดินก่อนเลย?"
พี่ซัน : "ใช่ครับ"
พี่ป๊อก : "แล้วก็ค่อยไปเขียนแบบ"
พี่ซัน : "ใช่"
พี่ป๊อก : "แต่ถ้าเราเขียนแบบมาแล้วล่ะ?"
พี่ซัน : "ผมจะเอามาพิจารณารอบหลังครับ โดยเบื้องต้นผมอ้างอิงในการทำแบบเนี่ยมันจะมีข้อมูลพื้นฐานอยู่แล้วว่า สมมุติกรุงเทพฯหรือว่าเขตนี้ๆ
มันจะมีข้อมูลเดิมหรือว่าข้อมูลอ้างอิงได้อยู่เราสามารถอ้างอิงไปก่อนได้ครับส่วนในการทำขั้นตอนนี้ผมเอามาเช็กอีกทีหนึ่งเพื่อความแน่ใจว่า
ค่าที่ออกมามันตรงกับที่เราออกแบบไว้ไหม"
พี่ป๊อก : "อย่างกรุงเทพฯ ปกติเขาลงเข็มกันลึกกี่เมตร"
พี่ซัน : "กรุงเทพฯ ก็จะอยู่ประมาณ 21 เมตรขึ้นไปครับ ถ้าเป็นตัวบ้านเนอะ"
พี่ป๊อก : "เดี๋ยวผลจะออกเลย ผลมันจะมีบอกเลยว่าต้องลงเท่าไร"
พี่ซัน : "ใช่ครับ ถ้าในรายงานคร่าวๆ มันก็จะบอกหมดเลยว่าดินแต่ละชั้น เป็นดินลักษณะไหน เป็นดินเหนียว ดินแข็ง ดินทราย พอผลพวกเนี้ย
เราจะต้องมาวิเคราะห์ต่อว่า เราจะเลือกใช้เสาเข็มแบบไหนด้วยเพราะว่าหน้าดินในตรงนั้นเป็นยังไง เข็มตอกหรือเจาะ ก็มีผลกับดินตรงนี้ด้วย"
พี่ป๊อก : "บางทีดินออกมาแล้วเข็มเจาะใช้ไม่ได้อย่างงี้ใช่ไหม?"
พี่ซัน : "ใช่ครับ หน้างานนี้ผมเลือกใช้ไปแล้วว่าเป็นเข็มตอกเพราะพิจารณาจากหน้างานแล้วว่าเบื้องต้นเนี่ยทางเข้าออกได้ แล้วทีนี้ผลของดินจะมา
สนับสนุนอีกอย่างหนึ่งคือตัวเข็มตอกปกติเนี่ย ถ้าผมตอกลึกเนี่ย ผมตีไป 21 เมตรก่อน โดย 21 เมตร เข็มมันต้องใช้สองต้นแน่ๆ อยู่แล้ว
เราไม่สามารถเอาเข็ม 21 เมตรตอก มันตอกไม่ได้อยู่แล้ว ผมก็เลยตี สมมติ 21 เมตร อาจจะเป็นท่อนหนึ่ง 10 เมตร ท่อนหนึ่ง 11 เมตรอย่างเงี้ย
ทีนี้ผมก็ต้องมาดูว่ารอยต่อของ 2 ท่อนนี้"
พี่ป๊อก : "คือจังหวะที่ 2 ต้นมันลงไปเนี่ยมันจะต้องมีรอยต่อกัน ไอ้ตรงต่อตรงนั้นแหละ ดินมีผล"
พี่ซัน : "ดินมีผลครับ ดินตรงบริเวณนั้นต้องไม่มีความชื้นมากจนเกินไปเพราะว่ามันจะมีผลที่ว่า สมมติเราไปตอกหลุมข้างๆ เนี่ย ถ้าดินมีความชื้น
ดินมันสไลด์ง่าย แปลว่าบริเวณนี้ อาจจะโดนสไลด์แล้วเข็มมันหัก สมมติความยาวนี้มันไปเจอบริเวณรอยต่อพอดีมันเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เราตอกไม่ได้"
พี่ป๊อก : "ซึ่งในรายงานของผลการทดลองจะบอกเลยว่าดินตรงลึกกี่เมตรที่เราจะต้องระวัง"
พี่ซัน : "ใช่ครับ อย่าให้มันไปต่อตรงนั้น"
พี่ป๊อก : "โอเค"
พี่ซัน : "ถ้าเป็นกรณีเข็มเจาะเนี่ย เขาจะทดสอบดินเพื่อระวังเรื่องของน้ำใต้ดิน บริเวณน้ำส่วนใหญ่มันจะอยู่ใต้ชั้นทราย ถ้าเราเจาะทะลุทรายแล้ว
ทะลุไปอีกเนี่ย น้ำมันทะลักขึ้นมา ทีเนี้ยมันก็จะเหมือนน้ำบาดาลที่มันจะดันน้ำขึ้นมา ทีนี้พอเราเทคอนกรีตมันก็จะมีน้ำมาผสมมันจะไม่แข็งแรง "
พี่ป๊อก : "เพราะว่าเข็มเจาะคือเราเจาะดินลงไปแล้วก็เทคอนกรีตลงไป ก็เจาะลงไปเจอน้ำก็เรียบร้อยเลย"
พี่ซัน : "ใช้ครับ ก็คือเราจะรู้หน้าดินเพื่อพิจารณาว่าอย่าให้เรา เราอย่าเจาะแรงเกินไปให้มันไปทะลุถึงชั้นน้ำ ไม่งั้นหลุมนั้นจะเสียไปเลย"
พี่ป๊อก : "การทดสอบนี้เขาใช้เวลานานแค่ไหน?"
พี่ซัน : "ปกติถ้าเข้า 9.00 น. ก็ออกประมาณ 15.00 น."
พี่ป๊อก : "อันนี้คือเขามาเก็บดินไปอย่างเดียว"
พี่ซัน : "เก็บตัวอย่างอย่างเดียวครับ"
พี่ป๊อก : "รู้ผลเลยไหม?"
พี่ซัน : "รู้ผลอีก 7 วันครับ"
พี่ป๊อก : "ก็คือเขาเอาไปเข้าห้องแล็บก่อน"
พี่นุก : "คือเท่าที่เล่ามาก็เห็นแล้วว่ามันมีความสำคัญมากและอยากทราบว่าถ้าเราไม่สำรวจได้ไหม?"
พี่ซัน : "ต้องพูดว่าขึ้นกับดุลยพินิจของแต่ละคนทำแล้วกันเพราะว่าสำรวจผลดินมาเนี่ย มันก็ต้องมาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ออกแบบ
อีกทีหนึ่งอยู่ดีว่าจะพิจราณาให้ใช้เสาเข็มลักษณะไหน ซึ่งผมพูดไม่ได้ว่าแต่ละคนมีข้อมูลมากแค่ไหนเนอะ คนที่ไม่สำรวจอาจจะ
เพราะมีข้อมูลอยู่แล้วหรือเปล่า แล้วก็ข้อมูลพวกนี้มันสามารถหาได้ตามสาธารณะทั่วไป"
พี่ป๊อก : "คือกำลังจะบอกว่าต่อให้สำรวจไปแล้วก็ไปคำนวณไม่ดี ออกแบบไม่ดีก็ไม่มีประโยชน์?"
พี่ซัน : "ก็ไม่มีประโยชน์"
พี่ป๊อก : "อย่างน้อยจะได้รู้ว่าเข็มของบ้านเรา เพื่อจะให้บ้านเราแข็งแรงเนี่ยอยู่ได้อีกนาน 50-100 ปีเนี่ย ควรจะลงเข็มลึกเท่าไร ตรงนี้จะบอกหมดเลย ก็ควรทำ"
พี่ซัน : "ควรทำครับ"
พี่ป๊อก : "สิริปันทวีเราทำให้ไหม"
พี่ซัน : "ทำให้ครับ"
พี่ป๊อก : "ทุกหลังเลยไหม"
พี่ซัน : "ทุกหลังครับ"
พี่นุก : "แล้วเรามีการรับประกันโครงสร้างบ้านด้วยใช่ไหมคะ"
พี่ซัน : "ใช้ครับ"
พี่ป๊อก : "กี่ปีครับ"
พี่ซัน : "ผมรับประกับโครงสร้างอยู่ที่ 10 ปี รับประกันโครงสร้าง เริ่มต้นก็คือตรงนี้แหละครับ เรากล้าเพราะว่าเราทำตรงนี้"
พี่นุก : "ก็เดียววันนี้ผลสำรวจดินที่เราเก็บไปวันนี้เนี่ย เดี๋ยวเราจะไปดูกันว่าผลที่ออกมาเป็นยังไง"
พี่ป๊อก : "ต้องรอ 7 วัน"
พี่นุก : "ตอนนี้นะคะก็ผ่านมาเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ครบแล้ว ผลก็อยู่ในมือของเราแล้วเรียบร้อยนะคะ จากการที่เราได้ไปสำรวจที่ดินเมื่อ
สัปดาห์ที่ผ่านมานั่นเอง ผลเป็นยังไงบ้างคะ คุณซัน"
พี่ซัน : "ก็หน้าแรกที่จะดู ก็จะดูในส่วนของคำแนะนำก่อนเลยครับ เพราะว่าตัวจากแล็บเขาจะแนะนำมาแล้วว่าเสาเข็มที่จะเลือกใช้มัน
เหมาะที่ความลึกเท่าไหน"
พี่ป๊อก : "ก็คือที่ตารางนี้เลยนะ"
พี่ซัน : "ก็เบื้องต้นตัวอาคารหลังนี้ครับ ถูกออกแบบมาให้ใช้ I-22 กับ I-26"
พี่ป๊อก : "I-22 กับ I-26 คืออะไร?"
พี่ซัน : "ความกว้างของเสาเข็ม หน้าตัดเสาเข็มครับ"
พี่ป๊อก : "หลังที่เราจะสร้างตรงนี้ พี่ซันคำนวณไว้แล้ว ใช้เข็มขนาด 2 แบบคือ"
พี่ซัน : "I-22 กับ I-26 ครับ"
พี่ป๊อก : "I-22 มันรับน้ำหนักประมาณเท่าไหร?"
พี่ซัน : "ควรจะรับได้ไม่น้อยกว่า 24 ตันครับ"
พี่ป๊อก : "24 ตันต่อตารางเมตร"
พี่ซัน : "ใช่ครับ"
พี่ป๊อก : "ทำไมบ้านหลังหนึ่งมันถึงใช้เข็มขนาดไม่เท่ากัน?"
พี่ซัน : "เพราะว่าแต่ละจุดถ่ายน้ำหนักมาที่เข็มไม่เท่ากัน"
พี่ป๊อก : "ตรงไหนรับน้อย"
พี่ซัน : "บริเวณรอบๆ บ้านจะรับน้อยกว่าบริเวณกลางบ้านครับ"
พี่ป๊อก : "ตรงกลางก็จะเป็นต้นเบอร์ I-26"
พี่ซัน : "ใช่ครับ จะเป็นเบอร์ใหญ่กว่า"
พี่ป๊อก : "แล้วผลดินเขามาบอกว่าอะไร"
พี่ซัน : "ผลดินก็จะมีคำแนะนำมาครับว่าเสาเข็มเนี่ยถ้าเกิดว่าเราลง I-22 กับ I-26 2 ตัวนี้ เขาบอกว่าจะให้ลงด้วยความลึก 17 เมตร
แต่ถ้าเกิด 18 เมตรเนี่ยเขาจะดอกจันไว้ ดอกจันหมายความว่ามันมีเรื่องของผลทดสอบตัวหนึ่งที่บ่งชี้ว่าบริเวณดินที่ต่ำกว่า
17 เมตรลงไปเนี่ยมีความแข็งกว่าบริเวณอื่นทำให้มันตอกงไปยาก การตอกลงไปยากเนี่ยมันอาจจะส่งผลต่อเสาเข็มที่เรา
ทำงานอยู่หน้างาน สมมุติว่าเราตอกมาถึง 17 เมตรล่ะ เราฝืนตอกไป 18 เมตรเนี่ยอาจจะลง แต่ว่าต้องแบบตอกหลายๆ รอบ
ตอกจนหัวเข็มมันแตกหรือว่าเสาเข็มข้างล่างมันหัก แล้วก็อย่าง I-26 ที่ผมออกแบบไว้อย่างเนี่ยก็จริงๆ ควรจะรับได้ไม่น้อยกว่า 30 ตัน"
พี่ป๊อก : "ตั้งใจว่าจะให้รับน้ำหนักที่ 30 ตัน"
พี่ซัน : "ใช่ครับ"
พี่ป๊อก : "ผลดินบอกว่าจะรับน้ำหนักได้ 33 ตัน"
พี่ซัน : "ชั้นดินนี้จะรับได้ที่ 33 ตัน ซึ่งก็คือผ่านแล้ว"
พี่ป๊อก : "เราก็สบายใจละ คือได้ขนาดของเข็มและความลึกของเข็มที่จะลงแล้วสอดคล้องกับแบบที่เราคำนวนไว้ตั้งแต่แรก"
พี่ซัน : "ใช่ครับ"
พี่ป๊อก : "ตอนนี้ก็คือ ถ้าเอาแค่นี้อะก็พร้อมลงเข็มได้เลย"
พี่ซัน : "ใช่ แต่จะมีอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือรอยต่อของเสาเข็มครับ จะต้องไปดูเรื่องของความชื้นในดินบริเวณที่มีรอยต่อ
การพิจารณาจะอยูีที่ 2 จุดครับก็คือช่อง Water Content กับ Liquid Limit (LL) ครับ ก็ถ้าในทฤษฎีเขาก็จะบอกว่า Water Content
ไม่ควรเข้าใกล้ค่า Liquid Limit ถ้าเกิดเข้าใกล้ Liquid Limit ให้หลีกเลี่ยงบริเวณรอยต่อบริเวณนั้นครับ ช่วงนี้ครับ"
พี่ป๊อก : "3 เมตรถึง 3.50 เมตร Water Content เท่ากับ 41.3 LL เท่ากับ 60.26 อันนี้คือ ถือว่าห่างไหม"
พี่ซัน : "อย่างตัวนี้ ถือว่าไม่ห่าง แต่พอมาอยู่ที่ช่วง 4.50 เมตรถึง 5 เมตรเนี้ย เห็นชัดเลยว่าตรงนี้ Water Content เท่ากับ 109.11"
พี่ป๊อก : "แต่ LL มันไม่มีอ่ะ LL คือเท่าไหร่"
พี่ซัน : "ก็จะใช้เป็นค่าเฉลี่ยเอา"
พี่ป๊อก : "ประมาณ 66"
พี่ซัน : "ยังไง Water Content ก็เกินอยู่แล้ว ก็เลยคิดว่าตรงนี้จะห้ามมีรอยต่อเลยเด็ดขาด เพราะว่า Liquid Limit มันเป็นค่าที่แบบว่า
ถ้า Water Content มาถึงจุดนี้ ดินมันจะเปลี่ยนสถานะ มันจะลื่น"
พี่ป๊อก : "ถ้าอย่างนั้น ซันจะลงตรงไหน ตรงรอยต่อ ถ้าดูจากผลดิน"
พี่ซัน : "ตรง 9 เมตร ก็คือได้แล้วครับ"
พี่ป๊อก : "พูดง่ายๆ ก็คือ ดูตรงค่าที่ Water Content ไม่เกิน LL ไม่เข้าใกล้มันยิ่งต่ำยิ่งดี อันนี้ก็คือผลดินของแต่ละชั้นนะครับ"
พี่ซัน : "ก็อยู่ที่ดุลยพินิจ การตัดสินใจด้วย"
พี่นุก : "ก็เลยทำให้เห็นว่าการสำรวจดินมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เป็นขั้นตอนต่อไปของการตอกเสาเข็มซึ่งเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างจะสำคัญ
ใครที่สนใจนะคะ อยากจะสร้างบ้านก็ติดต่อมาที่สิริปันทวีได้เลยนะคะ"