ข่าวสาร ความรู้
EP17: การทดสอบเสาเข็ม

EP17: การทดสอบเสาเข็ม

หลังจากที่เราลงเสาเข็มเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Seismic Test) ครับ

บทความเมื่อวันที่ : 27 ก.พ. 66

1. เปิดรายการ

 

พี่นุก   : "สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับพวกเราสิริปันทวีกันอีกเช่นเคยนะคะ และในวันนี้ค่ะ เราก็ยังคงอยู่กันที่หน้างานเดิมจาก EP ที่แล้วนั่นเองค่ะ สำหรับประเด็นที่เราจะมาพูดคุยกันในวันนี้เนี่ย เป็นประเด็นที่อยู่ในขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างบ้านเลยก็คือการลงเสาเข็ม 

ก็อย่างที่ทุกคนเห็นนะคะ ว่าตอนนี้หน้างานเราเนี่ยได้ทำการลงเสาเข็มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ว่าเราจะทราบได้ยังไงว่า เสาเข็มที่เราตอกลงไปเนี่ย มันแข็งแรง สมบูรณ์ แล้วก็ไม่มีปัญหาอะไร แล้วก็ถ้าเกิดว่าเราเจอปัญหา เราจะแก้ไขมันได้ยังไงบ้าง เดียววันนี้นะคะ พี่ซันก็จะมาให้ข้อมูลส่วนนี้กับเราเหมือนเดิมคะ"

2. วิธีตรวจเสาเข็ม

พี่นุก   : "อันดับแรกเลยคือเราจะรู้ได้ยังไงว่าเสาเข็มที่เราตอกไปเนี่ยมันมีปัญหา"

พี่ซัน   : "อันดับแรกเลยประเมินด้วยสายตาก่อนเลยครับ แต่ส่วนใหญ่จะมองไม่ออกหรอกเพราะมันยาวมันลึกนะเรามองไม่ออกหรอก

           แล้วก็จะมีตัวช่วยครับก็คือการทดสอบ ในหน้างานนี้เราใช้เสาเข็มตอกนะ ตัวเลือกที่เราเลือกมาใช้ทดสอบก็คือระบบ Seismic Test "

 

----------------- รูปประกอบ test เสา ---------------------

 

พี่นุก   : "แล้วมันมีแบบวิธีอื่นไหม นอกจากวิธีนี้?"

พี่ซัน   : "มีครับมี ก็จะมีอีกอันหนึ่งคือเป็น Dynamic Load Test"

พี่ป๊อก : "ของเราใช้อะไรนะ?"

พี่ซัน   : "Seismic Test"

พี่นุก   : "สองวิธีนี้แตกต่างกันยังไง?"

พี่ซัน   : "ก็เบื้องต้นเลยเนี่ย Seismic Test จะทดสอบถึงความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ส่วน Dynamic Load Test จะบอกถึงว่ากำลังรับน้ำหนักเป็นยังไง

           ในโครงการนี้เราไม่ได้ใช้ Dynamic Load Test เนอะ เพราะว่าเสาเข็มที่เราเลือกใช้มา มันผลิตมาจากโรงงาน เพราะฉะนั้นตัวเสาเข็มมันรับแรงได้

           ตามที่โรงงานคอนเฟิร์มมาอยู่แล้ว แต่ว่าเราต้องมั่นใจได้เพราะว่าเรามี มอก. เรามีคุณภาพของโรงงานที่ผลิต เรารู้อยู่ว่าเป็นขนาดไหน

           เราเลยไม่ได้ทดสอบตัวนี้"

3. ทดสอบเสาเข็มยังไง

 

พี่ป๊อก : "เราก็เลยทดสอบด้วย Seismic Test ก็คือดูความสมบูรณ์ของเข็ม เขาทำยังไงกัน?"

พี่ซัน   : "คร่าวๆ เนี่ยคือใช้คลื่นครับ คลื่นส่งลงไปที่เข็ม แล้วให้มันสะท้อนกลับมา"

พี่ป๊อก : "อ๋อ เป็นเหมือนอัลตราโซนิกส์"

พี่ซัน   : "คล้ายๆ ครับ เป็นคลื่นความเค้นครับ"

พี่ป๊อก : "ก็คือวิศวกรเขาจะเอาเครื่องมาไว้บนหัวเสาเข็ม แล้วก็เคาะนิดนึงประมาณนี้นะครับ แล้วสัญญาณก็วิ่งลงไปแล้วมันสะท้อนกลับมาบางอย่าง

           ถ้าเกิดว่าเข็มมันดีมันก็จะสมูทไปกลับธรรมดา"

พี่ซัน   : "เส้นตรงๆ ครับ"

พี่ป๊อก : "ถ้ามันไม่ดี"

พี่ซัน   : "มันก็จะไปชนอะไรสักอย่าง เส้นมันก็จะกระดิก"

4. ผลลัพธ์จากการทดลอง

 

พี่ป๊อก : "มันจะออกมาเป็นกราฟ เรามีกราฟให้เห็นเลย ของเราลงไปทั้งหมดกี่ต้นนะเข็ม?"

พี่ซัน   : "31 ต้นครับ"

พี่ป๊อก : "ทกสอบเรียบร้อย?"

พี่ซัน   : "ทดสอบเรียบร้อยครับ"

พี่ป๊อก : "เป็นยังไง?"

พี่ซัน   : "เจอครับ"

พี่ป๊อก : "เจอสองต้น เช็กปั๋ป กลับมาแล้วสัญญาณผิดปกติ"

Test result    -    -    Test result 2    -

พี่ซัน   : "ใช่ครับ"

5. การแก้ไขเสาที่มีปัญหา

 

พี่นุก   : "แล้วเราทำยังไงกับสองต้นนั้น"

พี่ซัน   : "อันดับแรกพิจารณาผลก่อนเลย ผลเนี่ยเป็นยังไง"

พี่ป๊อก : "มันลึก เข็มมันลึกมากอะ แล้วมันไปพังตรงไหน ไม่สมบูรณ์ตรงไหน"

พี่ซัน   : "อย่างในกราฟเนี่ย มันขยับตั้งแต่แรกเลย"

พี่ป๊อก : "ก็คือเริ่มยิงปุ๊บ มันก็ยึกๆๆ รู้เลยอยู่หัวเข็ม"

พี่ซัน   : "บางคนอาจจะมองขยับแต่แรกเลยพังทั้งเข็ม ไม่ใช่นะ มันคือพอมันสั่นปุ๊ปคือมันเจอ เจอแล้วมันก็เลยสั่น แล้วมันก็นิ่งเหมือนเดิม"

พี่ป๊อก : "เจอลึกลงไปประมาณกี่เมตรของเรา?"

พี่ซัน   : "ลึกลงไปนิดเดียวเลยครับ ไม่ถึงเมตรครับเจอเลย"

พี่ป๊อก : "ทีนี้พี่ต่อก็เลยให้ช่างลองขุด"

พี่ซัน   : "วิธีแก้เบื่องต้นเลยคือ ขุดดูก่อนว่าตรงบริเวณนี้มีปัญหาตรงไหน โชคดีมากที่เจอครับ"

พี่ป๊อก : "ก็ขุดทั้ง 2 หลุมเลย?"

พี่ซัน   : "ทั้ง 2 หลุมเลย"

พี่ป๊อก : "เจอมันเป็นยังไง"

พี่ซัน   : "เจอรอยแตกรอบเลยครับ เป็นรอยร้าวเลยเห็นชัดเจนครับ ก็เลยวิธีแก้คือตัดบริเวณที่แตกออกไปแล้วก็ขยับฐานรากลงไปครับ"

  • Seis test    -    -    Seis test 2    -

พี่ป๊อก : "อ๋อ คือเข็มมันแตกเราตัดออกเลย แล้วความแข็งแรงอะ?"

พี่ซัน   : "ความแข็งแรงลดลงนิดหน่อยครับ ต้องเกริ่นก่อนว่าตัวเข็ม ระบบฐานรากอะมันอยู่ได้ด้วย 3 ปัจจัย ก็คือตัวเสาเข็มเองต้องรับแรงที่ส่งมาได้

           แล้วก็แรง เขาเรียกว่าแรงเอ็น แบริ่ง คือแรงที่อยู่ข้างใต้สุด ชั้นดินล่างสุด สามารถรับแรงที่ส่งลงไปได้ กับแรงฝืดรอบๆ เสาเข็ม ทีเนี้ยเข็มมันสั้นลง

           สิ่งที่หายไปอันดับแรกคือ แรงฝืดรอบๆ เสาเข็มครับ อย่างที่ว่าแรงฝืดเนี่ยดินชั้นบนๆ อะ มันมีน้อยมากอยู่แล้วเพราะดินมันลื่นครับ

           เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันหายไปจะน้อยมากแทบไม่มีนัยสำคัญครับ"

พี่ป๊อก : "ก็คือตัดออกแล้วก็ทำตอม่อให้ลึกขึ้น เดิมตอม่อเราจะสูงประมาณเท่าไร?"

พี่ซัน   : "ประมาณเกือบๆ เมตรครับ"

พี่ป๊อก : "อันนี้ก็คือ อย่างเช่นหลุมนี้เลย ที่มีปัญหาอยู่ เราก็ขุดลงไปลึกหน่อย ทำตอม่อสูงขึ้นหน่อย"

  • Img seis hole    -

พี่ซัน   : "ก็คือลดระดับ Footing ลงไป แต่ว่าขยายเพิ่มตอม่อให้ยาวขึ้นนิดหน่อย"

พี่ป๊อก : "เดิมต้นหนึ่งรับน้ำหนักเท่าไรนะ?"

พี่ซัน   : "ต้นหนึ่ง อย่างต้นที่มีปัญหาเนี่ยจะอยู่ประมาณ 16,000 กิโลกรัม"

พี่ป๊อก : "ก็คือ 16 ตัน แล้วพอมันมีปัญหาอย่างงี้น้ำหนักลดลงไหม"

พี่ซัน   : "แทบไม่ลด แต่ลด"

พี่ป๊อก : "เหลือเท่าไหร่ 15 ตัน?"

พี่ซัน   : "คิดว่าไม่น่าถึง นิดเดียวเลยครับ เพราะว่าอย่างที่บอกคือสิ่งที่มันหายไปอะคือ Friction ของมัน แต่ Friction ในบริเวณตรงเนี้ยมันน้อยมาก

           เพราะดินมันลื่นอยู่แล้วครับ"

พี่ป๊อก : "อันนี้เพราะว่ามันเจอต้นหัว ถ้าไปเจอข้างล่างทำไงเนี่ย?"

พี่ซัน   : "ต้องลงเข็มใหม่ครับ"

พี่ป๊อก : "แล้วต้องดึงอันเก่าออกก่อนปะ?"

พี่ซัน   : "ไม่ต้องดึงครับ ดึงไม่ได้อยู่แล้วครับ ทิ้วไว้เลย แล้วก็ต้องมาปรับปรุงตรงแบบตรงชุดนี้ใหม่"

พี่ป๊อก : "ทำให้มันมีเข็มข้างๆ กัน"

พี่ซัน   : "ใช่ๆ อาจจะต้องแซม 2 เข็มเลย กลายเป็นเพิ่มอีก 2 เข็มเลยอย่างเงี้ย เพราะว่าตรงนี้เราจะไม่มองแล้วมันใช้ได้ อาจจะทำ 2 เข็มแล้วก็กดลงไป

           สิ้งนี้มันย้ายที่ไมได้เพราะว่าระดับมันเซตหมดแล้ว หลุมอื่นมันทำไว้หมดแล้ว"

6. เสาเข็มเกิดปัญหาขึ้นได้ยังไง

 

พี่นุก   : "แล้วเราจะแบบว่าปัญหาเหล่านี้มันเกิดขึ้นมาจากขั้นตอนไหน"

พี่ป๊อก : "มันแตกได้ยังไง"

พี่ซัน   : "ก็อันดับแรกเลยคือ ก็อย่างที่บอกนะว่าต้องดูเบื้องต้นก่อน แล้วทีนี้พอทดสอบได้ผลมาปุ๊บ ปัญหาาที่เจอเนี้ย อันดับหนึ่งเลย

           คือเวลาตอกครับเราจะมีนับ Blow Count กับ Last 10 Blow คร่าวๆ หน้างานนี้ Last 10 Blow อยู่ที่ประมาณ 3-4 เซนติเมตร

           ถ้าหน้างานมีการเค้นเข็มเนี่ยให้ Last 10 Blow อาจจะแบบ จริงๆ มันต้องได้ 10 ครั้งต้องลง 3 เซนติเมตร"

พี่ป๊อก : "คือพยายามตอกว่างั้นเถอะ"

พี่ซัน   : "ใช่ แล้วกลายเป็นว่าหน้างานมีการเค้นเข็ม เหมือนมันยังลงได้อีกเค้นลงไปให้มันแบบ 10 ครั้งได้ 2 เซนติเมตรอย่างเงี้ย เข็มมันรับแรงไม่ไหว"

พี่ป๊อก : "ก็อาจจะแตกตอนนั้น"

พี่ซัน   : "ใช่ มันเกิดรอยแตกข้างๆ ออกมาได้ครับ"

พี่นุก   : "ก็แนะนำว่าให้ทำเพราะว่าราคาที่ใช้วิธีนี้มันไม่แพง มันอยู่แค่ประมาณต้นละหลักร้อย"

พี่ซัน   : "ใช้คำว่าถูกมาก"

พี่ป๊อก : "เพื่อทำการทดสอบอะไรนะ?"

พี่ซัน   : "Seismic Test ครับ"

พี่ป๊อก : "ต้นละร้อยกว่าบาท?"

พี่ซัน   : "ร้อยกว่าบาทเองครับ"

พี่ป๊อก : "เราก็เห็นแล้วว่าเจอสองต้น โชคดีมากเลยที่ได้ทำ"

พี่นุก   : "เพราะถ้าสมมติว่าเราปล่อยทิ้งไว้เนี่ยมันจะมีผลเสียตามมาใช่ไหม"

พี่ซัน   : "มีผลแน่นอนครับ คือเข็มมันมีรอยแตกครับ วันหนึ่งเมื่อมันไถลงไปเนี่ย จากที่ความสมบูรณ์มันรับได้เนี่ย มันมีรอยร้าวไปแล้ว

          รอยร้าวเมื่อเกิดขึ้นแล้วอะ แรงมันหายไปเยอะมากๆ อยู่แล้วครับ พอมันใส่แล้วปุ๊บ เมื่ออนาคตเข็มมันแตกออกเนี้ย

          กลายเป็นว่าบริเวณนี้เหมือนไม่มีฐานรากเลย"

พี่นุก   : "ก็เหมือนแบบไม่ได้ตอกเสาเข็ม"

พี่ป๊อก : "ควรทำ แล้วเราทำเสมอไหม?"

พี่ซัน   : "ทำเสมอครับ"

พี่ป๊อก : "ทุกต้น?"

พี่ซัน   : "ทุกต้นครับ อย่างที่บอกราคามันไม่ได้เยอะเลยครับ เทียบเปอร์เซ็นต์กับราคาเข็มบวกตัวนี้แทบไม่ลดเลย"

พี่ป๊อก : "แต่ถ้าเจอมันมีปัญหาแล้วต้องลงใหม่อันเนี้ย?"

พี่ซัน   : "ก็จะเศร้าๆ หน่อยครับ แต่ก็ต้องลง"

พี่ป๊อก : "แต่เรารับผิดชอบ"

พี่ซัน   : "ครับ แต่ก็ต้องลงครับ"

พี่นุก   : "เพราะฉะนั้นนะคะ ถ้าอยากสบายใจในเรื่องนี้ ในขั้นตอนนี้มาหาพวกเราได้ สิริปันทวีนะคะ ทักมาได้เลยที่ Line: @siripantawi

           เราพร้อมจะดูแลและรับผิดชอบไห้กับทุกๆ หลังได้แน่นอนค่ะ"

 

 

 

 

 

 

 


ข่าวสารความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

BACK TO TOP