ข่าวสาร ความรู้
EP21 : ขั้นตอนการก่ออิฐมวลเบา

EP21 : ขั้นตอนการก่ออิฐมวลเบา

วันนี้ "สิริปันทวี" ได้สรุปขั้นตอนการก่ออิฐมวลเบา ตามมาตรฐานที่บริษัทผู้ผลิตอิฐมวลเบาเขากำหนดมา และเราก็ใช้มาตรฐานนี้สำหรับสร้างบ้านให้ลูกค้าทุกหลังครับ

บทความเมื่อวันที่ : 25 พ.ย. 66

1. เกรดของอิฐมวลเบา

 

"พี่ป็อก"  - "ดูคุณภาพของอิฐก่อน อิฐมวลเบาที่เราใช้ เลือกยังไงสเปคเป็นยังไงบ้าง เล่าให้ฟังหน่อย"

"พี่ต่อ"    - "มันมีเกรดมั้ยอิฐมวลเบา?"

"พี่ซัน"    - "มีเป็นเกรดก็ได้หรือเป็นชั้นคุณภาพก็ได้ อย่างในที่เราเห็นทั่วๆไป เสิร์ชเน็ตเจอตามท้องตลาด จะเห็นเป็น G2 กับ G4"

"พี่ป็อก"  - "เป็นชื่ออะไรนะ?"

"พี่ซัน"    - "เป็นชื่อของคุณภาพอิฐมวลเบา คือแต่ละแบรน์เขาแยกกันไปทำของเขาอยู่แล้ว แต่ว่ามันก็จะมีมาตรฐานกลางเพื่อ reference คุณภาพของอิฐ ก็อาจจะเป็นอย่าง G2 G4 อย่างนี้ที่เห็นกันทั่วไป"

"พี่ป็อก"  - "ต่างกันยังไง 2 อันนี้"

"พี่ซัน"    - "ถ้าพูดง่ายๆ ก็คือเรื่องของมวลรวมของมันครับ ความหนาแน่นของมันจะต่างกัน G2 จะหนาแน่นน้อยกว่า G4"

 

                                                        รูปประกอบ เกรดอิฐ

 

"พี่ป็อก"  - "G4 หนาแน่นกว่าก็คือจะหนักกว่า"

"พี่ซัน"    - "หนักกว่า ช่องอากาศน้อยกว่า"

"พี่ต่อ"    - "มีโพรงน้อยกว่า"

"พี่ป็อก"  - "ขนาดของอิฐอันนึงขนาดเท่าไหร่?"

"พี่ป็อก"  - "ก็ 20 x 60 เซนติเมตรครับ"

 

                                                        รูปประกอบ ขนาดอิฐ

 

"พี่ป็อก"  - "อันนี้เป็นมาตรฐานเลย?"

"พี่ซัน"    - "เป็นมาตรฐานเลยครับ ส่วนความหนาแล้วแต่ผู้ออกแบบ design ไว้ แต่มาตรฐานของบริษัทเราเนี่ยจะใช้อยู่ที่ 7.5 เซนติเมตร"

"พี่ต่อ"    - "แต่จริงๆ มันมีอยู่หลายขนาดนะ แต่ที่ส่วนใหญ่ในการสร้างบ้านเนี่ยที่เลือกใช้กันก็คือขนาดนี้ละ 20 x 60"

2. อุปกรณ์สำหรับก่ออิฐมวลเบา

 

"พี่ป็อก"  - "จะก่ออิฐมวลเบาอุปกรณ์ต้องใช้อะไรบ้าง"

"พี่ต่อ"     - "ทั่วไปเลยก็จะมีอย่างเช่น เกรียงก่อ เกรียงหวี เกรียงก่ออิฐมวลเบา เกรียงฟันปลา ค้อนยาง ระดับน้ำ แล้วก็มีพวกเส้นเอ็น ลูกดิ่งด้วยเพื่อไว้ดูระดับ เลื่อยตัดอิฐมวลเบา"

"พี่ซัน"    - "สำคัญมากครับของต้องพร้อม ไม่งั้นงานจะไม่ดี"

 

                                                        รูปประกอบ อุปกรณ์ต่างๆ

3. การหาแนว

 

"พี่ป็อก"  - "หาแนว  หาแนวการก่อ หายังไงบ้าง"

"พี่ต่อ"     - "หาฉากหาแนว ส่วนใหญ่ก็จะใช้เป็นเต๊า เต๊าดีดเป็นเส้น"

 

                                                        รูปประกอบ เต้าดีด

 

"พี่ป็อก"  - "ใช้เต๊ากับพื้นก่อน เพื่อให้หาแนว หาเส้น เค้าจะดึง ทำให้สีติดที่พื้น เค้าจะขึงไว้ตลอดเลยมั้ย?"

"พี่ต่อ"     - "ใช่ๆ"

"พี่ป็อก"  - "ก่อไปขึงไปหรือขึงก่อนเลย?"

"พี่ต่อ"     - "ขึงตั้งแต่ก้อนแรกเลยเพราะจะได้ตรงกันทุกก้อน"

4. ปูนปรับระดับ

 

"พี่ป็อก"  - "โอเค พอได้แนวปุ๊บ จะเตรียมก่อละ เราเอาอิฐก่อเลยได้มั้ย?"

"พี่ต่อ"     - "ก่อ"

"พี่ป็อก"  - "ก่อเลยเหรอ ตรงพื้นต้องมีอะไรก่อนมั้ย?"

"พี่ป็อก"  - "ตรงพื้นจะมีขั้นตอนนิดนึง"

"พี่ซัน"    - "ก่อนจะเริ่มก่อก็ควรจะต้องแบบ มันจะมีขั้นตอนนิดนึง จะต้องมีการปรับหน้าผิวก่อน เพื่อให้เวลาเราก่อขั้นแรก เราสามารถเซตระดับอิฐได้ ให้ระนาบของอิฐเป็นไปตามที่เราต้องการเพราะว่าเวลาที่เราเทพื้นมา พื้นมันก็มีหยึกหยักๆ อาจจะปรับอิฐได้ยาก"

"พี่ป็อก"  - "อ่อ ก็เลยต้องมีการเทปูน?"

"พี่ต่อ"     - "เดียวอิฐขั้นแรกมันจะไม่ตรงกัน"

"พี่ซัน"     - "เพื่อให้มันมีการให้ตัวได้ เวลาวางอิฐเราจะมีค้อนทุบ ทุบซ้ายทุบขวา โอเคตรงกับเอ็นแล้ว แต่ถ้าเราวางอิฐบนพื้นมันทุบไม่ได้แล้ว"

"พี่ป็อก"  - "แล้วตรงปรับระดับนี้ เป็นปูนอะไรบ้าง"

"พี่ซัน"    - "จะใช้เป็น เปิดหน้าด้วยปูนกาว บางๆ ไปก่อน"

"พี่ป็อก"  - "ประมาณ 3 มิลลิเมตร"

"พี่ซัน"    - "จริงๆ ก็แค่ปาดเลยครับ ปูนกาวมันใช้ไม่หนาอยู่แล้ว"

"พี่ต่อ"    - "ก็ตามเกียงแหละ"

"พี่ป็อก"  - "ปาดไปตามเส้น"

"พี่ซัน"    - "แล้วก็ใส่ปูนทราย เพื่อให้ตัวนี้แหละเป็นตัวหลักในการปรับระดับ"

"พี่ป็อก"  - "คือปูนอะไร?"

"พี่ต่อ"    - "ปูนก่อทั่วไป "

"พี่ป็อก"  - "ตรงนี้สูงเท่าไหร่"

"พี่ซัน"  - "ไม่เกิน 3 เซนติเมตรครับ เพราะว่าไม่อยากให้หนามาก เพราะถ้าหนามากจะมีการแตกได้ในอนาคต แล้วก็ปิดทับด้วยปูนกาวอีกทีนึง เพื่อให้เป็นตัวเชื่อมประสาน"

"พี่ต่อ"   - "แต่จริงๆ ตัวนี้ปูนกาวจะมาพร้อมกับอิฐแล้วแหละ คือรูดกับอิฐแล้วก็เอาอิฐมาแปะ"

"พี่ซัน"   - "ให้มันเป็นตัวเชื่อม"

5. ระยะเหลื่อมของอิฐ

 

"พี่ป็อก"  - "พอเริ่มก่อแล้วเราก็ต้องด฿เรื่องของระยะเหลื่อมซ้ายขวา การก่ออิฐเนี่ยมันก็ต้องวางสลับกันไปไช่ปะเป็นกึ่งกลาง ฟันปลาไปเรื่อยๆ"

"พี่ต่อ"    - "มันไม่ควรจะก่อเรียงกันตรงๆ อยู่ละ"

"พี่ป็อก"  - "มันมีมาตรฐานอะไรที่แบบเป็นตัวเลข?"

"พี่ต่อ"    - "ของเรามีที่ 15 เซนติเมตร"

 

                                                        รูปประกอบ เหลื่อม15

 

"พี่ป็อก"  - "คือวางเหลื่อมกันเนี่ย คือถ้าวางเหลื่อมกันแค่ 10 เซนติเมตร?"

"พี่ต่อ"     - "ไม่ได้"

"พี่ป็อก"  - "อิฐก้อนนึงกว้างเท่าไหร่นะ?"

"พี่ซัน"    - "60 เซนติเมตร"

"พี่ป็อก"  - "ถ้าผนังกว้าง 70 เซนติเมตร ถ้าเราไม่คิดอะไรเลยเอาอิฐอันใหญ่มาวางได้ 60 เซนติเมตร ละ?"

"พี่ต่อ"     - "60 กับ เสด 10 แต่ 10 เซนติเมตร มันไม่ได้ละ"

"พี่ป็อก"  - "มันน้อยไปเพราะมาตรฐานเราต้อง 15 เซนติเมตร แล้วทำยังไงถ้าผนังกว้างแค่ 70 เซนติเมตร"

"พี่ต่อ"     - "อย่างนี้ก็ต้องเป็น 50 กับ 20 เซนติเมตร"

"พี่ซัน"     - "ใช่ ต้องเฉลี่ยใหม่ให้ทั้ง 2 ก้อน มันอยู่ในขั้นต่ำมาตรฐาน"

"พี่ป็อก"  - "30 กับ 40 เซนติเมตร อย่างนี้ได้ไหม?"

"พี่ต่อ"     - "ไม่ได้เพราะตรงกลางมันจะเหลือแค่ 10 เซนติเมตร"

"พี่ป็อก"  - "เพราะว่าเราวางซ้าย 30 ขวา 40 พอขั้นต่อไปก็ 40 30"

"พี่ต่อ"     - "มันขะเหลื่อใกัน 10 เซนติเมตร"

"พี่ป็อก"  - "โอเค ก็มันเป็นผนังเล็กมันจะยากหน่อย"

 

                                                        รูปประกอบ เหลื่อม10

 

6. หนวดกุ้ง

 

"พี่ป็อก"  - "เหล็กหนวดกุ้งหน้าที่มันคืออะไร"

"พี่ซัน"    - "พยุงผนังไม่ให้หลุดจากเสา"

"พี่ป็อก"  - "แล้วของเราใช้?"

"พี่ซัน"    - "เราใช้เป็นเหล็กเส้น"

"พี่ป็อก"  - "ขนาด?"

"พี่ซัน"    - "ขนาด 6 มิลิเมตร RB6"

 

                                                        รูปประกอบ เหล็กrb6

 

"พี่ป็อก"  - "แล้วเราเสียบตรงไหนบ้างอะ? คือมันมีเสาก่อนแล้วเรากำลังจะก่อผนัง แล้วหนวดกุ้งมันจะอยู่ตรงไหน?"

"พี่ซัน"    - "มันจะอยู่ที่บนก้อนแรก"

"พี่ป็อก"  - "อยู่ริม 3 ก่อน"

"พี่ต่อ"    - "ระยะของมันเนาะ ทุกๆ 20 40 40 ขึ้นไป ก็คือก้อนที่ 1, 3, 5, 7"

"พี่ป็อก"  - "แต่มันจะโผล่ออกมาแค่ด้านข้างใช่มั้ย?"

"พี่ซัน"    - "ด้านข้างครับ"

 

                                                        รูปประกอบ เหล็กด้านข้าง

 

"พี่ป็อก"  - "มันไม่ใช่เหล็กที่เสียบเป็นแนวยาวนี่ไม่ใช่นะ?"

"พี่ต่อ"    - "ไม่ใช่"

"พี่ซัน"    - "เสริมนิดนึงครับตรงหนวดกุ้งเนี่ย บริเวณที่มันยึดกับเสาอาจจะกำชับให้ใช้ปูนกาวหรือว่าใช้อีพ็อกซี่ในการเชื่อมเข้าไปด้วย"

"พี่ป็อก"  - "เพราะว่าเค้าต้องเอาเหล็กฝังไว้ในเสา"

"พี่ซัน"    - "เพราะว่าเราไม่ได้เอาใส่พร้อมตอนเทเสา แต่ว่าเรามาเจาะเสาแล้วใส่เข้าไป ก็อยากให้เป็นปูนกาวหรือว่าอีพ็อกซี่ มันจะได้ไม่หลุด"

"พี่ป็อก"  - "เป็นเรื่องเล็กๆ ที่สำคัญมากหนวดกุ้ง"

7. เสาเอ็นและคานทับหลัง

 

"พี่ป็อก"  - "เสาเอ็นคือ?"

"พี่ซัน"    - "เสาเอ็นก็ตามชื่อเลยเป็นเสาครับ"

"พี่ป็อก"  - "แนวตั้ง"

"พี่ซัน"    - "เป็นโครงสร้างแนวตั้ง ที่ถูกใส่ไว้ในผนัง"

 

                                                        รูปประกอบ เสาเอ็น

 

"พี่ป็อก"  - "วัสดุที่นำมาทำเสานี่คืออะไร?"

"พี่ซัน"    - "เป็นปูนคอนกรีตโครงสร้างครับ เสริมเหล็กแ้ลวก็เทปูนลงไป"

"พี่ป็อก"  - "อันนี้เรีนกว่าเสาเอ็น แล้วทับหลัง?"

"พี่ซัน"    - "ทับหลังเรียกเต็มๆ เค้าจะเรียกคานทับหลัง ก็ตามชื่อเลยครับคายก็ คือแนวนอน เป็นโครงสร้างที่อยู่ในกำแพงอีกทีนึง"

 

                                                        รูปประกอบ ทับหลัง

 

"พี่ป็อก"  - "โอเค ทับหลังก็คือเป็นแนวนอน เสาเอ็นคือแนวตั้ง ทำไมต้องใส่?"

"พี่ซัน"    - "ลดภาระของตัวอิฐเอง"

"พี่ต่อ"    - "ตอนบนก็จะลงที่ทับหลังแล้วตัวข้างล่างก็จะลงที่พื้นก็เหมือนแบ่งภาระกัน"

"พี่ป็อก"  - "แล้วเราต้องใส่ถี่แค่ไหนคานกับเสาเอ็น?"

"พี่ซัน"    - "เบื้องต้นที่แจ้งก็จะมีตัวเลขมาตรฐานอยู่แล้วว่าใส่เท่าไหร่ ถ้าบอกคร่าวๆ ก็อาจจะเป็นเสาเอ็นทุกๆ 2.5 เมตร คานทับหลังอาจจะแบบสูงซัก 1.5 เมตร ก็ใส่เส้นนึงอย่างนี้"

 

                                                        รูปประกอบ ทับหลังสูง

8. การก่อจบด้านบน

 

"พี่ป็อก"  - "พอเราก่อไปเรื่อยๆ มีทับหลัง มีเสาเอ็นแข็งแรงดีมีหนวดกุ้ง ขึ้นไปเรื่อยๆ จะถึงข้างบนละเราจบข้างบนกันยังไง การก่ออิฐเนี่ย?"

"พี่ซัน"    - "การจบมันจบได้หลายแบบมากเพราะบางทีมันจบไม่เหมือนกัน ไปเจอคาน ไปเจอพื้น เจอโครงเหล็กอะไรเงี้ย ก็จะจบไม่เหมือนกัน"

"พี่ป็อก"  - "เอาทีละอัน ถ้าไปเจอคาน"

"พี่ต่อ"    - "ก็ก่อขึ้นไปแล้วก็ก่อชนแหละครับ แต่แค่ว่าก่อนที่จะชนควรจะเหลือให้ใส่ปูนทรายประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อให้มันยืดหยุ่น เผื่อมันหดตัว"

"พี่ป็อก"  - "อิฐมันสูงเท่าไหร่นะ?"

"พี่ต่อ"  - "20"

"พี่ป็อก"  - "20 ก็ก่อๆ ก้อนสุดท้าย 20 พอดีก็ให้เหลือประมาณ 3 เซนติเมต เพราะเรารู้ระยะตอนที่จะก่อ เราก็ปรับทับหลังความสูงอิฐมันจะได้วางพอดี มาตรฐานเราเนี่ยก่อนจะถึงแถวสุดท้ายเนี่ย พูดง่ายๆ คือแถวสุดท้ายต้องเป็นก้อนเต็ม แล้วถ้าข้างบนเป็นเหล็กอะเส ก่อเหมือนกันมั้ย ก่อขึ้นไปชนอะเส?"

 

                                                        รูปประกอบ อิฐบนสุด

 

"พี่ต่อ"    - "ก็ถ้าเป็นของเรา เราก็จะมีทับหลังคาดก่อน ถ้าเป็นเหล็กปุ้ปก็จะมีทับหลังละ"

"พี่ป็อก"  - "แล้วเราก็เหมือนเดิมก่อไปชนทับหลังเว้น 3 เซนติเมตร"

"พี่ต่อ"    - "ด้สนบนทับหลังก็จะมีเว้นอีก 3 เซนติเมตร เหมือนกัน"

"พี่ป็อก"  - "บนทับหลังเว้นอีก 3 เซนติเมตร ก่อนถึงอะเส แล้วเราก็ใส่ปูนเข้าไปตรง 3 เซนติเมตร นั้น"


ข่าวสารความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

BACK TO TOP