พี่ต่อ : "ตอนนี้ก็กำลังฉีดน้ำเพื่อเทสการรั่วซึมของประตูของหน้าต่างภายนอก ก็คือเหมือนการจำลองแหละว่าให้ฝนตก แต่แค่ฝนมันไม่ตกก็เลยต้องเอาน้ำมาฉีด
เพื่อจะให้ดูว่าหน้าต่างมันน้ำรั่วหรือเปล่า"
พี่ป๊อก : "ฉีดทุกบาน?"
พี่ต่อ : "ทุกบานครับ"
พี่ป๊อก : "ฉีดแล้วดูอะไรบ้างครับ?"
พี่ต่อ : "ก็เนี่ยเดียวเข้าไปดูด้านในว่าน้ำรั่วไม่รั่ว"
พี่ป๊อก : "อ๋อมันจะซึมเลย?"
พี่ต่อ : "ใช่"
พี่ป๊อก : "นี่ฉีดนานแค่ไหนเนี่ย"
พี่ต่อ : "จริงๆก็ซัก 5 นาทีก็เห็นผลแล้วแหละ เพราะว่าถ้าน้ำรั่วก็คือเห็นเลยว่าน้ำมันซึม"
พี่ป๊อก : "ฉีดน้ำ 5 นาที แล้วเดียวเราเข้าไปดู"
พี่ต่อ : "ก็หลังจากที่ฉีดน้ำเมื่อกี้ ก็ต้องเข้ามาดูว่าเปียกไม่เปียกเนอะ อันนี้ก็โอเคอยู่ครับ"
พี่ป๊อก : "เคยเจอไหมที่เขาเปียก?"
พี่ต่อ : "เยอะ หน้าต่างนี่เจอบ่อยเลย"
พี่ป๊อก : "อ๋อเหรอมันเป็นเพราะอะไรอะ?"
พี่ต่อ : "หลักๆ น่าจะ 2 สาเหตุ ใช้คำว่า 3 สาเหตุดีกว่า"
สาเหตุข้อที่ 1 การตรวจเช็คงานของคนตรวจ
พี่ต่อ : "สาเหตุที่ 1 ก็คืออาจจะเกิดจากคนตรวจ ถ้าตรวจไม่เป็นนะ ถ้าตรวจไม่เป็นน้ำก็จะย้อนเข้ามาได้"
พี่ป๊อก : "ก็คือมันมีวิธีฉีดให้น้ำย้อน?"
พี่ต่อ : "ใช้ ไม่รู้ว่าเขาตั้งใจให้มันรั่วหรือเปล่า หรืออาจจะบางคนก็ไม่รู้จริงๆ แหละ คนที่แบบว่ามาตรวจใหม่ๆ อะไรอย่างนี้"
พี่ป๊อก : "ก็คือฉีดแบบฉีดน้ำมั่วซั่วเลย เพราะจริงๆ ทิศทางของฝนมันจะไม่มีทางฉีดแบบนั้นแน่ๆ"
พี่ต่อ : "ใช่ เราก็ต้องนึกสภาพฝนเพราะปกติธรรมชาติของฝนก็คือตกจากข้างบนลงล่าง แต่เราฉีดจากล่างขึ้นบนมันก็ต้องมีบ้างแหละที่น้ำเข้ามาอะไรอย่างนี้"
สาเหตุข้อที่ 2 เป็นที่ผลิตภัณฑ์ หรือ เก็บรอยต่อไม่เรียบร้อย
พี่ต่อ : "2 ก็คือ เรื่องของ section เลย ก็คือตัวเนี่ย ตัวผลิตภัณฑ์เนี่ยว่าเขาออกแบบมาดีไม่ดีหรือว่าอาจจะดีก็ได้แต่ช่างอาจจะไม่ได้ซีนรอยต่อ น้ำก็รั่วเข้ามาตามรอยต่อ "
พี่ป๊อก : "คือเก็บงานไม่ดี ไม่ได้ซีนเก็บเรียบร้อย?"
สาเหตุข้อที่ 3 เป็นที่การติดตั้ง
พี่ต่อ : "3 ก็คือการติดตั้ง ก็คือเฟรมเนี่ย กับผนังเราที่เว้นไว้เนี่ย ตอนซีนเนี่ยซีนไม่ดี"
พี่ป๊อก : "เก็บงานไม่ดีมันก็เลยเข้าตรงนี้ มีรู?"
พี่ต่อ : "ใช่ มีรู หลักๆน่าจะประมาณนี้ 3 เรื่อง"
พี่ป๊อก : "นี่ถ้ารั่วแล้วถ้าแก้เรื่องใหญ่ไหมเนี่ย?"
พี่ต่อ : "ก็ต้องแก้จากภายนอกก็คือขูดรอบหน้าต่างออกแล้วก็จะอุดด้วยวัสดุอะไรก็แล้วแต่สเปคของบริษัทนั้นๆ"
พี่ป๊อก : "เขาจะแก้จากข้างนอก?"
พี่ต่อ : "ใช่"
พี่ป๊อก : "แล้วอย่างข้างในหลังนี้ติดวอลเปเปอร์ละ เราไม่ได้แก้ละ"
พี่ต่อ : "ใช่ ยิ่งถ้าตรวจถ้ามีวอลเปเปอร์เนี่ยจริงๆ ตรวจง่ายเลย เพราะว่าถ้าน้ำรั่ว คือวอลเปเปอร์มันจะลอก มันจะร่อนออกมาเลย เพราะว่ากาวโดนน้ำแล้วมันจะร่อน"
พี่ป๊อก : "แล้วนอกจากตรวจเรื่องน้ำแล้วเนี่ย หน้าต่างต้องตรวจเรื่องอะไรบ้าง"
พี่ต่อ : "ก็ต้องการเปิดปิด ลื่นไม่ลื่น ฝืดไม่ฝืด"
พี่ป๊อก : "พี่ต่อติดสติกเกอร์อะไรไว้?"
พี่ต่อ : "อย่างนี้จะมีฝืด ก็คือถ้าเลื่อนเนี่ยคือถือว่าโอเคอยู่ แต่ถ้าได้สัมผัสเนี่ยจะรู้สึกว่ามันสั่น ก็มีอะไรผิดปกติที่ล้อแน่ก็เลยติดไว้ว่าฝืด"
พี่ป๊อก : "ฝืด โอเค"
พี่ต่อ : "อันนี้ก็ บานเอียงเนี่ยก็คือเราก็จะลองปิด สังเกตจากข้างล่างก็คือช่องมันเหลือน้อยถูกไหม ช่องแสง แต่ข้างบนเนี่ยช่องแลงจะเหลือเยอะแปลว่ามันเอียง ตั้งบานเอียง
ส่วนตัวล็อกเนี่ยก็ถือว่าปกติ
พี่ป๊อก : "บานอื่นเป็นไวบ้างฮะ มีปัญหาเรื่องติดตั้งเอียงหมดเลย?"
พี่ต่อ : "ก็มีเยอะอยู่ครับ ก็เรื่องฝืดเรื่องเอียง เรื่องล็อกยากอะไรอย่างนี้ก็จะเป็นเรื่องค่อนข้างปกติของการตรวจบ้าน"
พี่ป๊อก : "แต่ก็แก้ไขได้หมดเรื่องพวกนี้"
พี่ต่อ : "แก้ไขได้เรื่องพวกนี้ แก้ไขได้หมด"
พี่ป๊อก : "พวกช่างอะลูพวกนี้เขาจะมีวิธีแก้อยู่แล้ว เพราะว่าเหมือนกับว่าอะลูมันตั้งค่าได้"
พี่ต่อ : "สามารถตั้งล้อมให้เอียงขึ้นเอียงลงได้ ให้ลื่นได้ ให้ฝืดได้ แต่ถ้าเสียที่ล้อเขาก็เปลี่ยนที่ล้อมันทำได้หมดอะ แต่ถ้าจะยากจริงๆ ก็คือนี่อย่างเนี้ย เข้ามาใกล้ๆ นี่คือจะเห็นว่าเฟรม
มันเป็นรอยเนี่ย มันถลอกเนี่ย อันนี้จะ แก้ยาก มันบุบ แต่ที่นี่ก็จะเป็นเฟรมของ UPVC อันนี้ก็อาจจะแก้ยากกว่าปกตินิดนึง เพราะว่ามันไม่สามารถทำสีได้เหมือนอะลูมิเนียม
ถ้าอะลูมิเนียมก็คือขัดๆๆ แล้วก็เอาสีมาพ่น แต่ UPVC เนี่ยเยื้อมันจะเป็นเหมือนเป็นพลาสติกนะ มันจะเก็บงานยากนิดนึง"
พี่ป๊อก : "ปกติเฟรมเขาใช้อยู่กัน 2 อย่างคือเฟรมอะลูมิเนียม กับ เฟรม UPVC?"
พี่ต่อ : "ใช่"
พี่ป๊อก : "UPVC ก็จะแพงหน่อย คุณสมบัติมันจะเด่นเรื่องการกันน้ำ"
พี่ต่อ : "กันเสียงกันน้ำ พวกนี้เขาจะประกอบออกมาเป็นชิ้นเลยแล้วก็มาติดตั้งที่นี่เลยจะไม่เหมือนอะลูมิเนียมที่จะมาเป็นชิ้นๆ แล้วก็มาประกอบ"
พี่ป๊อก : "ตรวจประตูก็เหมือนกันไหมฮะพี่ต่อ?"
พี่ต่อ : "ประตูกับหน้าต่างจริงๆ หารตรวจเหมือนกันแหละ ประตูก็จะเหมือนหน้าต่างบานเลื่อน การตรวจก็ลักษณะเดียวกัน ก็คือลองเปิดปิด ลองเปิด ลองปิดดู
ลองล็อกดู ถ้าล็อกแล้วมันหลวม อย่างเนี้ยล็อกยากล็อกไม่ได้ ต้องมีจังหวะของมันถึงจะล็อกได้อย่างเนี้ย อย่างเนี้ยไม่โอเคละ"
พี่ป๊อก : "ต้องแก้"
พี่ต่อ : "อันนี้ก็คือเมื่อกี้ เราได้ทำการฉีดน้ำไปแล้ว"
พี่ป๊อก : "แล้วน้ำรั่วไหม?"
พี่ต่อ : "จริงๆ ตัวประตูเนี่ยโอเค"
พี่ป๊อก : "น้ำไม่เข้าบ้าน?"
พี่ต่อ : "ไม่เข้าบ้าน "แต่ปัญหาก็คือน้ำขัง ก็คือเจอน้ำขังเนี่ยเป็นปัญหาใหญ่กว่าน้ำเข้าบ้านอีก
พี่ป๊อก : "อันนี้ถ้าฝนตกจริงๆ ก็คือขังตรงนี้เลย?"
พี่ต่อ : "นี่แหละๆ อันนี้ก็จะเป็นปัญหาใหญ่แทนละ"
พี่ป๊อก : "ละแก้ไงงี้?"
พี่ต่อ : "ก็ต้องรื้อกระเบื้องแล้วปรับสโลปใหม่"
พี่ต่อ : "ก็ดูการใช้งานแหละดูลองเปิดลองปิดดู เปิดจังหวะเดียวล็อกไหมอะไรอย่างนี้ล็อกดี ดูกระพือไหม อันนี้จะเรียกว่ากระพือ กระพือมันจะเจอโอกาศก็คือ
ถ้าเราปิดประตูแล้วเปิดหน้าต่างอะ เวลามันมีลมตีอะ มันจะดัง/มันจะสั่น แล้วก็จะดูเรื่องของด้านใน ข้างใน จะดูพวกวงกบ ดูบานพับ ดูช่องแสง
ดูด้านใต้เอียงไปไหม ห่างไปไหมช่องแสงตามขอบ อะไรประมาณนี้ ก็ดูความเรียบร้อยของลูกบิด ว่ามันโยกมันคลอนอะไรอย่างนี้หรือเปล่า"
พี่ป๊อก : "ถ้าประตูกระพือแบบบานนี้ แก้ยังไงอะ?"
พี่ต่อ : "แล้วแต่เทคนิคช่าง"
พี่ป๊อก : "เทคนิกช่าง?"
พี่ต่อ : "จะไปแก้ที่วงกบหรือว่าจะมาแก้ที่ตัวนี้ก็ได้"
พี่ป๊อก : "คือมันกระพือเพราะอะไรอะ?"
พี่ต่อ : "ก็เนี่ยแหละตั้งบานไม่ดี ติดเสร็จไม่ใช่ว่าใช้ได้เลย มันต้องตั้งบานอีกทีนึง"
พี่ป๊อก : "อยู่ที่การติดตั้ง?"
พี่ต่อ : "ใช่"
พี่ป๊อก : "คุณภาพของวัสดุเกี่ยวไหม?"
พี่ต่อ : "มีผลครับ มีผล ถ้าเป็นไม้จริงอะไรพวกนี้ก็จะมีผลเยอะหน่อย ไม้จริงถ้าไม่ดีจริงๆ อะ ไม้มันอ่อน หน้าร้อนทีนึง หน้าฝนทีนึงอย่างเนี้ย ก็จะงอ"
พี่ป๊อก : "มันจะเป็นบางฤดู"
พี่ต่อ : "แต่ถ้าเป็นบ้านโครงการแบบนี้ เขาจะเปลี่ยนเป็นวัสดุผสมหมดแล้ว เป็น HDF เป็น UPVC ก็แล้วแต่ว่าโครงการเขาจะใช้อะไรบ้าง"
พี่ป๊อก : "ซึ่งมันจะไม่ได้ยืดหดตามอากาศ?"
พี่ต่อ : "ใช่ มีบ้างแต่น้อยมาก แทบจะไม่มีผลเลย มันจะไม่เหมือนพวกไม้จริง ยิ่งถ้าเป็นไม้อ่อนจะเห็นชัดมากเลยว่าโก่ง ปิดยาก บานเบียดอะไรอย่างนี้
อันนี้เป็นเพราะเรื่องอุณหภูมิแล้วแหละ"
พี่ป๊อก : "ถ้างั้นเลือกเป็นวัสดุสำเร็จแบบนี้ดีกว่า"
พี่ต่อ : "ก็ดีกว่า แต่เรื่อง texture มันสู้ไม้จริงไม่ได้"
พี่ป๊อก : "บางคนชอบไม้จริง แต่ก็จะเจอปัญหาเรื่องการหดการยืดของไม้?"
พี่ต่อ : "ใช่"